ออกค่าย

ปฏิทิน

วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เทสเซลเลชัน

เทสเซลเลชัน (tessellation)
        เทสเซลเลชัน (tessellation) เป็นคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ หมายถึง กลุ่มรูปแบนราบ ที่เรียงติดต่อกันโดยไม่เกยกัน หรือมีช่องว่าง เทสเซลเลชันที่รู้จักกันดีในปัจจุบัน ได้แก่ ภาพพิมพ์ของเอ็ม. ซี. เอสเชอร์ (M.C. Escher)
       ในการเรียนคณิตศาสตร์นักเรียนต้องการประสบการณ์ที่ทำให้พวกเขาคิดว่าคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์
ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  นักเรียนมีความรู้สนุกสนานในการเรียน  ไม่ใช่วิชาที่ต้องคำนวณหาคำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว  กิจกรรมการออกแบบ  “เทสเซลเลซัน”  เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ  เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา  เป็นกิจกรรมที่รวมคณิตศาสตร์กับศิลปได้อย่างสวยงาม  ในชีวิตประจำวันเราเห็นลวดลายของกระดาษปิดฝาผนังห้องนอน  ห้องน้ำ  หรือลวดลายกระเบื้องที่ปูพื้น  และลวดลายอื่น ๆ  จะมีลายเป็นรูปเหมือนกันที่เติมเต็มพื้นที่ได้อย่างสวยงาม  น่าทึ่งและอัศจรรย์



        เทสเซลเลชัน  เริ่มต้นด้วยนักศิลปชาวอิสลามได้สื่อความรู้  ความซาบซึ้ง  ในคณิตศาสตร์ของตนเองในรูปแบบของศิลป  ดังตัวอย่าง  ศิลปะ  “ Alhambra ”  เป็นศิลปะที่วาดไว้ใน  Moorish Palace  in  Granada  ประเทศสเปน  ต่อมาใน ค.ศ.  1936  นักศิลปชาวดัทซ์  ชื่อ  M.C. Escher  ได้เดินทางไปเที่ยวประเทศสเปน  เกิดความซาบซึ้งในลักษณะของศิลปแบบนี้  จึงได้นำมาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน  และได้เรียกศิลปแบบ  Alhambra  ว่า  เทสเซลเลชันเทสเซลเลชัน  คือ การจัดรูปปิดหลายรูปให้คลุมระนาบ  โดยไม่ให้เกิดการเหลื่อมล้ำหรือซ้อนทับกันระหว่างรูปและไม่ให้มีช่องว่างในระนาบเหลืออยู่
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต
สาระที่ 3  เรขาคณิต
มาตรฐาน ค 3.2   ใช้การนึกภาพ (visualization)  ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial reasoning) 
                        และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) ในการแก้ปัญหา
     ตัวชี้วัดที่ 3 เข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในเรื่อง การเลื่อนขนาน  การสะท้อน และการหมุน 
และนำไปใช้
     ตัวชี้วัดที่ 4 บอกภาพที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนขนาน   การสะท้อนและการหมุนรูปต้นแบบ  และอธิบายวิธีการที่จะได้ภาพที่ปรากฏเมื่อกำหนดรูปต้นแบบและภาพนั้นให้  



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น